เริ่มยิงแอดใน Facebook ทำยังไง (สำหรับคนไม่มีพื้นฐาน)
เดี๋ยวนี้การขายออนไลน์เริ่มบูมและเป็นที่นิยมมากๆ เพราะต้นทุนน้อยขายได้ตลอดเวลาแถมยังสามารถเข้าถึงคนทั่วทุกมุมโลกได้ด้วย การใช้วิธียิงแอดจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คนใน Facebook เห็นสินค้าของเรามากขึ้น ช่วยให้เราขายดีมียอดขายแบบปังๆ อยากรู้เคล็ดลับต้องอ่าน
4 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนลงแอดใน Facebook
1. ต้องยิงแอดผ่าน Facebook Fanpage เท่านั้น
เราต้องเปิด Facebook Fanpage เท่านั้น การลงโพสต์ใน Facebook ส่วนตัวเพื่อโปรโมตสินค้าจะไม่สามารถนำโพสต์นั้นมายิงโฆษณาได้
2. Boost Post และ Facebook Ads ไม่เหมือนกัน
Boost Post คือการกดโปรโมตโพสต์บนหน้า Timeline ของ Facebook Page ของเรา เพื่อให้โพสต์นั้นๆ เข้าถึงคนได้มากขึ้น ซึ่งการแสดงผลจะออกมาเหมือนกับ Facebook Ads
การ Boost Post มีเป้าหมายเพื่อทำให้คนรู้จักแบรนด์เรามากขึ้น มีการสร้าง การมีส่วนร่วมกับโพสต์นั้นๆ รวมทั้งการทำให้คนส่งข้อความ (Message) มาหาเรา ซึ่งผลลัพธ์ที่จะได้ก็จะเป็น ยอดไลค์ คอมเมนต์ และการแชร์
Facebook Ads คือการลงโฆษณาออนไลน์บน Facebook ที่เราสามารถปรับแต่งได้ตามเป้าหมายที่เราต้องการ ซึ่ง Facebook Ads ประกอบไปด้วยเป้าหมายหลัก 3 ส่วนได้แก่ การรับรู้(Awareness) การตัดสินใจ(Consideration) และการกระทำที่เราต้องการ (Conversion) ซึ่ง 3 ส่วนนี้เราก็สามารถปรับแต่งเป้าหมายย่อยๆ ได้อีกด้วย
-
การรับรู้ (Awareness)
1.1 การรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) คือการเพิ่มการรับรู้ทำให้มีคนรู้จักแบรนด์ของเราเพิ่มมากขึ้น
1.2 การเข้าถึง (Reach) คือเป้าหมายการแสดงโฆษณาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยจะแสดงให้เห็นแค่กลุ่มที่เรากำหนดเท่านั้น
-
การตัดสินใจ (Consideration)
2.1 ยอดการเข้าชมเว็บไซต์ (Traffic) คือ เป้าหมายในการเพิ่มยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์ ที่เราได้ระบุ URL เอาไว้ เช่น บล็อก หรือ หน้าเว็บไซต์ขายสินค้า
2.2 การมีส่วนร่วม (Engagement) คือ เป้าหมายในการเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ที่พบเห็นโฆษณา ซึ่งผลลัพธ์ส่วนใหญ่ที่ได้มาจะเป็น การกดไลก์ คอมเมนต์ แชร์
2.3 การติดตั้งแอป (App Installation) คือ เป้าหมายในการเพิ่มยอดการติดตั้งแอปฟลิเคชั่น
2.4 ยอดการชมวิดิโอ (Video View) คือ เป้าหมายในการเพิ่มยอดเข้าชมวิดีโอที่เราได้ทำการโพสต์ไว้ สำหรับเป้าหมายที่มีโอกาสกดดูสูง
2.5 ข้อมูลลูกค้า (Lead Generation) คือ เป้าหมายในการเก็บข้อมูลของผู้ใช้ ที่มีโอกาสเป็นไปได้ในการกลายเป็นลูกค้าสูง เช่น การยิงโฆษณา Facebook Ads เพื่อให้เกิดการลงทะเบียน 2.6 ข้อความ (Message) คือ เป้าหมายในการกระตุ้นให้เกิดการส่งข้อความเข้ามาถามรายละเอียดต่าง ๆ ของสินค้า และ บริการ
3. อย่าใช้โทรศัพท์มือถือในการบริหารและลงโฆษณา Facebook
เพราะฟังก์ชันในการลงโฆษณาบนโทรศัพท์มีไม่ครบเหมือนกับการยิงผ่าน Facebook Ads Manager บนคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาจส่งผลถึงความแม่นยำ ค่าใช้จ่าย และ Goal ที่ตั้งไว้ได้
4. ชิ้นงานที่ใช้ทำโฆษณาของ Facebook Ads = โพสต์บนเพจ
การลงโฆษณา Facebook ไม่จำเป็นต้องโพสต์ลงบนเพจก่อนทุกครั้ง แต่เราสามารถสร้างชิ้นงานโฆษณาที่ลอยๆ อยู่ในระบบ Facebook Ads ได้ (เราเรียกกันว่า Unpublished Post หรือ Ad Post) ซึ่งตัว Ad Post จะสร้างและนำไปใช้งานได้หลากหลายกว่า
5 ขั้นตอนการลง Ads ใน Facebook
1. การสร้าง Account
ก่อนอื่นเลยคุณจำเป็นจะต้องสมัคร Facebook Ads Manager เพื่อที่จะใช้เครื่องมือนี้ในการสร้าง ปรับปรุง จัดการ และวิเคราะห์ผลลัพธ์การยิงโฆษณา Facebook Ads
2. เข้าสู่หน้า Overview
หลังจากสมัครเข้าใช้งาน Facebook Ads Manager ตามขั้นตอนทั้งหมดแล้วจะถูกพาเข้าสู่หน้า Overview หากต้องการยิงโฆษณา Facebook Ads ให้คลิกเลือกที่ Business Tools (จุด 9 จุดฝั่งซ้ายมือ) และคลิกที่ Ad Manager เพื่อเข้าสู่หน้าของการสร้างแคมเปญ Ads ต่อไป
3. สร้าง Campaign
ขั้นที่ 1 เริ่มต้นสร้าง Campaign
เมื่อคลิกเข้ามาแล้วจะเจอกับหน้าต่างภาพรวมในลักษณะ Table สำหรับใครที่ยังไม่เคยรันแคมเปญโฆษณาจะยังไม่มีผลลัพธ์ใดๆ ปรากฏ แต่จะมีแถบเมนูด้านบนเรียงลำดับจาก Campaign > Ad sets > Ads
โดยที่เมนู Campaign จะเป็นเหมือนร่มใหญ่ที่ครอบ Ad sets และ Ads เอาไว้ ซึ่งเราสามารถจัดการแคมเปญต่างๆ และดูผลลัพธ์แบบภาพรวมได้ทั้งหมดในหน้านี้ เช่น
-
Create Campaign: สร้างแคมเปญโฆษณา Facebook Ads ใหม่
-
Duplicate: สร้างแคมเปญโฆษณาเดิมซ้ำ
-
Edit: ปรับแต่งแคมเปญ เช่น ปรับแต่งชื่อแคมเปญ, เริ่มต้นทำ AB Test, กำหนดลิมิตการใช้เงินโฆษณา
-
A/B Test: สร้างการทดสอบ A/B Test ของโฆษณาได้
ฯลฯ
สำหรับใครที่เริ่มต้นทำ Facebook Ads เป็นครั้งแรกให้เริ่มต้นโดยการกด “Create” ด้านซ้ายมือ
ขั้นที่ 2 เลือก Campaign Objective
ต่อมาคุณจะต้องทำการเลือก Campaign Objective ให้ตรงกับผลลัพธ์ที่คุณต้องการจากการยิง Ads ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ
-
Awareness: มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก โดยผลลัพธ์ที่ได้อาจจะเป็นการกดไลก์ แชร์ คอมเมนต์ หรือการเข้าถึงในวงกว้าง ซึ่งแบ่งออกเป็น…
-
Brand Awareness > เป็นการสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มสนใจในโฆษณา Facebook Ads เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์และจดจำให้มากขึ้น
-
Reach > เป็นการเน้นการแสดงผลโฆษณาให้คนเห็นได้มากที่สุด และเลือกความถี่ในการเห็นซ้ำๆ บ่อยๆ ได้จากการกำหนด Frequency Capping ในการโฆษณา
-
-
Consideration: มุ่งเน้นไปที่การให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์ด้วย แบ่งออกเป็น…
-
Traffic > เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จากทั้งในและนอก Facebook โดยมีตัวชี้วัดเป็น จำนวนการเข้าชม (Landing Page Views) และจำนวนการคลิกลิงก์ (Link Clicks)
-
Engagement > เพิ่มการเห็นและนำส่งโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมายที่ชอบมีปฏิสัมพันธ์กับโพสต์เป็นลำดับต้นๆ โดยผลลัพธ์มักจะได้เป็นการกดไลก์ แชร์ คอมเมนต์ ฯลฯ
-
App Installs > เพิ่มโอกาสให้คนดาวน์โหลดหรือซื้อแอปพลิเคชัน (จะแสดงผลบนโทรศัพท์เท่านั้น)
-
Video Views > เพิ่มจำนวนการรับชมวิดีโอ ให้กลุ่มเป้าหมายคุ้นเคยกับแบรนด์หรือสินค้าด้วยเนื้อหาที่น่าสนใจ
-
Lead Generation > เพิ่มจำนวนลูกค้า ด้วยการเก็บข้อมูลลูกค้าในรูปของแบบฟอร์ม โดยคุณสามารถใช้รายชื่อลูกค้าเหล่านี้มาทำ CRM ย้อนหลังได้อีกด้วย
-
Messages > เพิ่มโอกาสในการที่กลุ่มเป้าหมายจะส่งข้อความกลับมาหาคุณ เหมาะสำหรับกลุ่มพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือธุรกิจอยากปิดการขายบน Facebook Messager เป็นหลัก
-
-
Conversion: มุ่งเน้นไปที่การสร้างยอดขายให้กับธุรกิจ แบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน
-
Conversions > เข้าหากลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสจะทำ Action บางอย่างที่เราอยากได้ เช่น ซื้อสินค้าในเว็บไซต์, ลงทะเบียนรับข่าวสาร ฯลฯ เพื่อนำไปสู่ยอด Conversion ที่คุณต้องการ แต่การทำโฆษณาวัตถุประสงค์นี้จำเป็นต้องมีการติดตั้ง Facebook Pixel เสียก่อน
-
Catalogue Sales > หากคุณขายสินค้าที่หลากหลายแบบ E-commerce สามารถใช้ Objective นี้ในการสร้างแอดหน้าตาคล้ายกับแคตตาล็อกได้เลย
-
Store Traffic > เป็น Objective ที่ช่วยแสดงตำแหน่งที่ตั้งของร้าน เพื่อโปรโมทธุรกิจกับคนที่อยู่ใกล้เคียงได้ตามที่กำหนด
-
ขั้นที่ 3 ใส่ Campaign Detail
เมื่อเลือก Objective เสร็จก็จะเข้าสู่หน้าการตั้งค่าเพิ่มเติม โดยคุณสามารถใส่รายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแคมเปญได้ในขั้นนี้ ใส่รายละเอียดของแคมเปญ ได้แก่
-
ชื่อแคมเปญ
-
การทำ A/B Test โดยสามารถเลือกได้ว่าจะทำ A/B Testing หรือไม่
-
การกำหนด Budget ที่จะใช้ในแคมเปญนี้ โดยจะเลือกได้ว่าจะจ่ายเป็นรายวัน (Daily Budget) หรือตั้งงบลงโฆษณาแบบตลอดอายุ (Lifetime Budget) ซึ่งจะเป็นการใช้งบจนกว่าจะหมดตลอดทั้งแคมเปญ
4. สร้าง Ad sets
เข้าสู่ขั้นตอนสำคัญของการลงโฆษณา Facebook Ads กับการสร้าง Ad sets ซึ่งเป็นขั้นตอนของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งถ้าคุณกำหนดได้ละเอียดและตรงกับความสนใจของเขาจริงๆ มากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยให้ Ads มี Performance ที่ดีขึ้นตามไปด้วย
ขั้นที่ 1 ตั้งชื่อ Ad sets ตั้งค่า Budget และเวลาที่ต้องการรันแคมเปญ
ขั้นตอนนี้คือการกำหนดชื่อของ Ad sets และถ้าหากคุณไม่ได้ตั้งค่า Budget ในระดับแคมเปญไว้ คุณสามารถตั้งค่า Budget แยกตาม Ad sets ได้ที่นี่ นอกจากนี้ คุณยังต้องกำหนดวันและเวลาที่ต้องการ Publsih แคมเปญและวัน-เวลาที่ต้องการสิ้นสุดแคมเปญนี้เอาไว้ด้วย
ขั้นที่ 2 กำหนดกลุ่มเป้าหมาย
คุณสามารถเลือกกำหนดกลุ่มเป้าหมายได้จากการสร้าง New Audience ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 แบบ
-
Custom Audiences (กลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเอง) ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สร้างขึ้นมาได้โดยใช้ข้อมูลจากธุรกิจเราโดยตรงทั้งที่อยู่ในระบบ Facebook (On-Facebook) หรือข้อมูลที่อยู่นอกระบบ Facebook (Off-Facebook)
-
Lookalike Audiences (กลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกัน) โดยจะเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ใช้หากลุ่มลูกค้าใหม่ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกับกลุ่มลูกค้าเดิมของเรา
แต่ถ้าหากคุณยังไม่มีข้อมูลฐานลูกค้ามากพอที่จะทำ Custom และ Lookalike Audience คุณสามารถเริ่มต้นด้วยการใช้ Saved Audience โดยการกำหนด ความสนใจ พฤติกรรม ข้อมูลประชากร ตามตัวเลือกที่ระบบโฆษณาบน Facebook มีให้
นอกจากนี้คุณยังสามารถตั้งค่า Location ของกลุ่มเป้าหมายได้ว่าอยู่ที่ไหน รวมถึงกำหนด Demographic อย่าง อายุ เพศ ความสนใจ และพฤติกรรมเฉพาะของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการจะส่งโฆษณาไปถึงได้อีกด้วย
ขั้นที่ 3 กำหนดพื้นที่การโฆษณา
คุณสามารถเลือก Placement ที่โฆษณาจะไปปรากฏบน Platform ต่างๆ ได้ เช่น Facebook, Instagram, Messenger รวมถึงเลือก Device ว่าจะให้แสดงโฆษณานี้เฉพาะการใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์หรือบนโทรศัพท์ก็ได้อีกเหมือนกัน
5. สร้าง Ads
สุดท้ายจะเป็นเรื่องของการสร้างแอด โดยขั้นนี้จะเป็นการกำหนดรูปแบบโฆษณาของคุณว่าจะออกมาเป็นรูปแบบไหน ซึ่งสามารถแบ่งขั้นตอนออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ตั้งชื่อและเลือกกำหนดรูปแบบของโฆษณา Facebook Ads
เริ่มแรกเลยให้คุณตั้งชื่อ Ads ให้เรียบร้อย หลังจากนั้นให้ลงมาที่ Ad setup และกำหนดรูปแบบโฆษณาว่าจะเลือกเป็น Ads ที่สร้างใหม่ (Create Ad) เลือกใช้ของเดิมที่เป็นโพสต์บน Facebook Fanpage หรือเป็น Ads ที่เคยทำและเคยใช้งานมาก่อนแล้ว (Use existing post) หรือจะเลือกใช้แบบจำลองของสินค้าแทนรูปภาพจริงในการลงโฆษณาก็ได้เช่นกัน (Use creative hub mockup)
ขั้นที่ 2 เลือก Format ของ Ads ที่จะใช้
หากคุณเลือกการสร้างแอดใหม่ คุณสามารถเลือก Format ที่จะไปแสดงผลเป็นรูปแบบโพสต์ประเภทต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น…
-
Image โฆษณาประเภทรูปภาพ ใช้ jpg หรือ png ในขนาด 1.91 : 1 ถึง 4 : 5
-
Video โฆษณาประเภทวิดีโอ ใช้ได้เกือบทุกสกุลไฟล์ แต่จะมีการกำหนดความยาวว่าต้องไม่น้อยกว่า 1 วินาที สูงสุดไม่เกิน 240 นาที และมีสัดส่วน 9 : 16 ถึง 16 : 9
-
Carousel โฆษณาในรูปแบบสไลด์ ใช้ได้ทั้งแบบรูปภาพและวิดีโอ โดยจะต้องมีจำนวนทั้งหมด 2 ภาพ หรือ 2 วิดีโอขึ้นไป ซึ่งการยิง Ads รูปแบบนี้จะต้องมี Landing page รองรับ
-
Full-screen mobile Experience หรือการทำ Canvas Ads เป็นโฆษณาที่คุณสามารถนำเสนอสินค้าด้วยสื่อต่างๆ ทั้งรูปภาพ วิดีโอ ข้อความ รวมไปถึงการมีลิงค์เพื่อสั่งซื้อหรือสอบถามได้ในโพสต์เดียว
ขั้นที่ 3 เขียนแคปชั่นและ Headline ให้ปัง
นอกจาก Format ที่ต้องดึงดูดเตะตาแล้ว เรื่องของ Headline และแคปชั่นเองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่คุณต้องครีเอตไอเดียในการเล่าเรื่องของสินค้าและบริการที่ต้องการนำเสนอให้ออกมาโดนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้
ขั้นที่ 4 อย่าลืมเรื่องการ Tracking
ขั้นตอนสุดท้ายก่อน Publish คือเรื่องของการ Tracking ผ่าน Facebook Pixel เพื่อดูพฤติกรรมของลูกค้าว่ามีผลลัพธ์มาจากโฆษณาที่เราส่งไปหรือไม่ หากติดตั้ง Facebook Pixel แล้วต้องอย่าลืมใส่ข้อมูลส่วนนี้ด้วยนะคะ
ขั้นที่ 5 กด Publish
หลังจากกด Publish แล้ว คุณจะเห็นว่าในช่อง Delivery สถานะจะขึ้นเป็น ‘In Review’ คือการรอตรวจสอบ หลังจากผ่านไปสักพักเมื่อ Facebook อนุญาตแล้วสถานะจะเปลี่ยนเป็น Active และเมื่อจบแคมเปญแล้วสถานะจะเปลี่ยนเป็น Completed เป็นขั้นสุดท้าย
สรุป
การลงโฆษณา Facebook เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ช่วยให้เราเข้าถึงเป้าหมายที่ต้องการได้แบบตรงจุดอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งถ้าผู้ใช้งานสามารถบริหาร จัดการ และลงมือยิงแอดได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ รับรองเลยว่า Facebook Ads จะเป็นช่องทางคุณภาพที่ช่วยสร้างได้ทั้งการรับรู้ (Awareness), การตัดสินใจ (Consideration) และสามารถนำพาให้กลุ่มเป้าหมายกระทำบางอย่างในแบบที่เราต้องการ (Conversion) ในงบประมาณที่จ่ายไปแล้วคุ้มค่าอย่างแน่นอนค่ะ